เวปนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ศึกษาเรื่องเคมีพื้นฐาน สำหรับผู้เรียนเคมีเบื้องต้น

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อนุภาคในอะตอม


อนุภาคมูลฐานของอะตอม

 
 
James Chadwick
รางวัลโนเบล (Nobel Prize) สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1935
United Kingdom
Liverpool University
Liverpool, United Kingdom
มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1891 -1974
ในการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดสรุปว่าอะตอมมีโปรตอนและอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบ  ดังนั้น  การคิดมวลอะตอมควรคิดจากมวลโปรตอนรวมกับมวลของอิเล็กตรอน  แต่มวลของอิเล็กตรอนน้อยมาก  การคิดมวลอะตอมจึงคิดจากมวลโปรตอน  พบว่ามวลโปรตอน 1 โปรตอนเท่ากับ 1.7 x 10–24 กรัม  หรือคิดเป็น  1  หน่วยมวลอะตอม (1 amu = 1 atomic mass unit)  ดังนั้นมวลอะตอมควรมีค่าเท่ากับหรือใกล้เคียงกับจำนวนโปรตอน  แต่จากการทดลองกลับพบว่ามวลอะตอมจริง ๆ มีค่าเป็น  2  เท่าหรือมากกว่า  2  เท่าของจำนวนโปรตอน  ในปี พ.ศ. 2463 (หรือค.ศ.1920)  รัทเทอร์ฟอร์ดได้เสนอความเห็นว่าน่าจะมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งที่เป็นกลางทางไฟฟ้าซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลโปรตอน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)  เจมส์ แชดวิก (James Chadwick)  ได้ค้นพบอนุภาคอีกชนิดหนึ่ง  ไม่มีประจุไฟฟ้า  และตั้งชื่อว่า นิวตรอน(neutron)  นิวตรอนมีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย  โดยมีมวลเท่ากับ 1.675 x 10–24 กรัม  และรัทเทอร์ฟอร์ดได้เสนอว่านิวตรอนเป็นอนุภาคที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม  ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่าโปรตอนและนิวตรอนอัดกันแน่นอยู่ในนิวเคลียสยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงนิวเคลียร์ (nuclear force)  และอนุภาคที่ประกอบเป็นนิวเคลียสเรียกว่า นิวคลีออน” (nucleon)




อนุภาคในอะตอม


ในปัจจุบันพบว่าในอะตอมประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ มากกว่า  30  ชนิด  และแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้
1.  อนุภาคที่ไม่เสถียร (unstable particles)  เป็นอนุภาคที่ไม่อยู่ตัว  สลายตัวได้ง่าย อนุภาคเหล่านี้เกิดจากการยิงนิวเคลียสของอะตอมด้วยอนุภาคชนิดต่าง ๆ  ตัวอย่างอนุภาคที่ไม่เสถียรได้แก่  positron , antiproton , neutrino  เป็นต้น
2.  อนุภาคที่เสถียร (stable particles)  เป็นอนุภาคที่อยู่ตัว  ไม่สลายตัว  มี  3  ชนิดคือ โปรตอน  นิวตรอน  และอิเล็กตรอน  เรียกอนุภาคทั้งสามว่า อนุภาคมูลฐานของอะตอม
 
 
อนุภาค สัญลักษณ์ ประจุไฟฟ้า (C) ชนิดประจุไฟฟ้า มวล (กรัม)
อิเล็กตรอน e
1.602 x 1019
-1
9.109 x 1028
โปรตอน p
1.602 x 1019
+1
1.673 x 1024
นิวตรอน n
0
0
1.673 x 1024

   
   

เลขอะตอม เลขมวล และสัญลักษณ์นิวเคลียร์

1.  เลขอะตอม (Atomic number)
คือตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอนของธาตุ  ใช้สัญลักษณ์ นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่หาเลขอะตอมได้คือ เฮนรี โมสลีย์  เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ  เลขอะตอมเป็นค่าเฉพาะสำหรับธาตุหนึ่ง ๆ ธาตุแต่ละชนิดมีเลขอะตอมไม่ซ้ำกัน  ดังนั้นเลขอะตอมจึงบอกชนิดของธาตุได้
2.  เลขมวล (Mass number)
คือตัวเลขที่แสดงผลรวมของจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอน  มีสัญลักษณ์ เลขมวลจะมีค่าใกล้เคียงกับมวลอะตอม (Atomic mass)  แต่เลขมวลเป็นเลขจำนวนเต็มเสมอ  ส่วนมวลอะตอมอาจเป็นจำนวนเต็มหรือทศนิยมก็ได้  และเลขมวลไม่เป็นค่าเฉพาะสำหรับธาตุ  ธาตุต่างชนิดกันอาจมีเลขมวลเท่ากันได้
 
เลขมวล
=
จำนวนโปรตอน  +  จำนวนนิวตรอน
 
3.  สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol)
เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ทราบว่าอะตอมของธาตุ  1  อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานอย่างละกี่อนุภาค  โดยเขียนสัญลักษณ์ของธาตุซึ่งแสดงเลขมวลที่มุมบนด้านซ้าย  และเขียนเลขอะตอมที่มุมล่างด้านซ้าย  เช่น

                                                          
            p   =  12                    p   =  6                 p   =  8
            e =  12                    e  =  6                 e  =  10
            n   =  12                    n   =  6                 n   =  8
 
จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ทำให้ทราบจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม  โดยจำนวนโปรตอนดูจากเลขอะตอม  อะตอมอยู่ในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจึงมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนโปรตอน  ส่วนจำนวนนิวตรอน   เลขมวล – เลขอะตอม 
Back to Top

ไอโซโทป ไอโซโทน และไอโซบาร์

ไอโซโทป (Isotope
หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน  แต่มีเลขมวลต่างกัน  หรืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน  แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
อะตอมที่มีเลขมวลหรือจำนวนโปรตอนแต่ละจำนวนเรียกว่า  1  ไอโซโทป  ตัวอย่างไอโซโทป  เช่น  ไฮโดรเจนมี  3  ไอโซโทปคือ     ,    , 
                                                               
            p   =  1                      p   =  1                 p   =  1
            e =  1                      e  =  1                 e  =  1
            n   =  0                      n   =  1                 n   = 2
            protium (H)               deuterium (D)      tritium (T)

ไอโซโทน (Isotone)
หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน  มีเลขอะตอมและเลขมวลต่างกัน  แต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
 
                                      
            p   =  6                      p   =  7
            e =  6                      e  =  7
            n   =  7 *                   n   =  7 *
 
ไอโซบาร์ (Isobar)
หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน  แต่มีเลขมวลเท่ากัน
                                      
            p   =  6                      p   =  7
            e =  6                      e  =  7
            n   =  8                      n   =  7

ตารางที่ 1 สรุปความหมายของไอโซโทป  ไอโซโทน  ไอโซบาร์
ชนิด
เลขอะตอม
เลขมวล
จำนวนนิวตรอน
จำนวนโปรตอน
ชนิดของธาตุ
ไอโซโทป
เท่ากัน
ต่างกัน
ต่างกัน
เท่ากัน
ชนิดเดียวกัน
ไอโซโทน
ต่างกัน
ต่างกัน
เท่ากัน
ต่างกัน
ต่างชนิดกัน
ไอโซบาร์
ต่างกัน
เท่ากัน
ต่างกัน
ต่างกัน
ต่างชนิดกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น